อารยธรรมจีน
อารยธรรมจีน
ราชวงต่างๆของจีน1.ราชวงศ์ซิน 2.ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก3.ยุคสามก๊ก4.ราชวงศ์จิ้นตะวันตก5.ราชวงศ์จิ้นตะวันออก6.ราชวงศ์เหนือใต้7.ราชวงศ์สุย8.ราชวงศ์ถัง9.ยุคห้าราชวังศ์สิบอาณาจักร10.ราชวงศ์ซ่ง11.ราชวงศ์หยวน12.ราชวงศ์หมิง13ราชวงศ์ชิง
ศิลปวัฒธรรมจีน
-งานจิตรกรรมจีนรุ่งเรืองมากในสมัยราชวงศ์ฮั่น มีการเขียนภาพและแกะสลักบนแผ่นหิน ที่นิยมมากคือ การ เขียน ภาพบนผ้าไหม ภาพวาดเป็นเรื่องเล่าในตำราขงจื๊อพระพุทธศาสนาและภาพธรรมชาติ
-สมัยราชวงศ์ถัง มีการพัฒนาการใช้พู่กันสีและกระดาษภาพส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาและลัทธิเต๋า
-สมัยราชวงศ์ซ้อง จิตรกรรมจัดว่าเด่นมาก ภาพวาดมักเป็นภาพมนุษย์กับธรรมชาติ ทิวทัศน์ ดอกไม้
-สมัยราชวงศ์ชาง มีการแกะสลักงาช้าง หินอ่อน และหยกตามความเชื่อและความนิยมของชาวจีน ที่เชื่อ ว่า หยก ทำให้เกิดความเป็นสิริมงคล ความสุขสงบ ความรอบรู้ ความกล้าหาญ ภาชนะสำริดเป็นหม้อสามขา
-สมัยราชวงศ์ถัง มีการพัฒนาเครื่องเคลือบดินเผาเป็นเคลือบ 3สีคือ เหลือง น้ำเงิน เขียว ส่วนสีเขียวไข่กามีชื่อ เสียงมากในสมัยราชวงศ์ซ้อง ส่วนพระพุทธรูปนิยมสร้างในสมัยราชวงศ์ถัง ทั้งงานหล่อสำริดและแกะสลัก จากหิน ซึ่งมีสัดส่วนงดงาม เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะอินเดียและจีนที่มีลักษณะเป็นมนุษย์มากกว่า เทพเจ้า นอกจากนี้มีการปั้นรูปพระโพธิสัตว์กวนอิม
-สมัยราชวงศ์เหม็ง เครื่องเคลือบได้พัฒนาจนกลายเป็นสินค้าออก คือ เครื่องลายครามและลายสีแดง ถึง ราชวงศ์ ชิง เครื่องเคลือบจะนิยมสีสันสดใส เช่น เขียว แดง ชมพู
-เมืองปักกิ่ง สร้างในสมัยราชวงศ์หงวน โดยกุบไลข่าน ซึ่งได้รับการยกย่องทางด้านการวางผังเมือง ส่วน พระราชวังปักกิ่งสร้างในสมัยราชวงศ์เหม็ง
-พระราชวังฤดูร้อน สร้างในสมัยราชวงศ์เช็ง โดยพระนางซูสีไทเฮา ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่าง ยุโรปและจีนโบราณ
-งานจิตรกรรมจีนรุ่งเรืองมากในสมัยราชวงศ์ฮั่น มีการเขียนภาพและแกะสลักบนแผ่นหิน ที่นิยมมากคือ การ เขียน ภาพบนผ้าไหม ภาพวาดเป็นเรื่องเล่าในตำราขงจื๊อพระพุทธศาสนาและภาพธรรมชาติ
-สมัยราชวงศ์ถัง มีการพัฒนาการใช้พู่กันสีและกระดาษภาพส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาและลัทธิเต๋า
-สมัยราชวงศ์ซ้อง จิตรกรรมจัดว่าเด่นมาก ภาพวาดมักเป็นภาพมนุษย์กับธรรมชาติ ทิวทัศน์ ดอกไม้
-สมัยราชวงศ์ชาง มีการแกะสลักงาช้าง หินอ่อน และหยกตามความเชื่อและความนิยมของชาวจีน ที่เชื่อ ว่า หยก ทำให้เกิดความเป็นสิริมงคล ความสุขสงบ ความรอบรู้ ความกล้าหาญ ภาชนะสำริดเป็นหม้อสามขา
-สมัยราชวงศ์ถัง มีการพัฒนาเครื่องเคลือบดินเผาเป็นเคลือบ 3สีคือ เหลือง น้ำเงิน เขียว ส่วนสีเขียวไข่กามีชื่อ เสียงมากในสมัยราชวงศ์ซ้อง ส่วนพระพุทธรูปนิยมสร้างในสมัยราชวงศ์ถัง ทั้งงานหล่อสำริดและแกะสลัก จากหิน ซึ่งมีสัดส่วนงดงาม เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะอินเดียและจีนที่มีลักษณะเป็นมนุษย์มากกว่า เทพเจ้า นอกจากนี้มีการปั้นรูปพระโพธิสัตว์กวนอิม
-สมัยราชวงศ์เหม็ง เครื่องเคลือบได้พัฒนาจนกลายเป็นสินค้าออก คือ เครื่องลายครามและลายสีแดง ถึง ราชวงศ์ ชิง เครื่องเคลือบจะนิยมสีสันสดใส เช่น เขียว แดง ชมพู
-เมืองปักกิ่ง สร้างในสมัยราชวงศ์หงวน โดยกุบไลข่าน ซึ่งได้รับการยกย่องทางด้านการวางผังเมือง ส่วน พระราชวังปักกิ่งสร้างในสมัยราชวงศ์เหม็ง
-พระราชวังฤดูร้อน สร้างในสมัยราชวงศ์เช็ง โดยพระนางซูสีไทเฮา ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่าง ยุโรปและจีนโบราณ
-ซ้องกั๋ง เป็นเรื่องประท้วงสังคม เรื่องราวความทุกข์ของผู้คนในมือชนชั้นผู้ปกครอง สะท้อนความทุกข์ของชาว จีนภายใต้การปกครองของพวกมองโกล
-ไซอิ๋ว เป็นเรื่องราวการเดินทางไปนำพระสูตรจากสวรรค์ทางตะวันตกมายังประเทศจีนจินผิงเหมย หรือดอกบัว ทอง แต่งขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่16-17 เป็นนิยายเกี่ยวกับสังคมและชีวิตครอบครัว เป็นเรื่องของชีวิตที่ร่ำรวย มีอำนาจขึ้นมาด้วยเล่ห์เหลี่ยม แต่ด้วยการทำชั่วและผิดศีลธรรมในที่สุดต้องด้รับกรรม
ความเจริญรุ้งเรือง
ราชอาณาจักรเจริญรุ่งเรืองและเสื่อม จักรวรรดิพุ่งสุดขีดและแตกสลาย นี่คือปรากฏการณ์ที่มีอยู่ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ และตัวแปรสำคัญตัวหนึ่งที่นำไปสู่ความล่มสลายของหน่วยการเมือง ไม่ว่าจะเป็นราชอาณาจักรหรือจักรวรรดิ ก็คือกลุ่มผู้ปกครองอ่อนแอของตนเอง และความอ่อนแอดังกล่าวนั้นก็มาจากปัญหาที่เกิดจากการกระทำของตนเอง โดยทั่วๆ ไปผู้ปกครองที่เข้าสู่อำนาจจะอุทิศตัวเองเพื่อประชาชน เพื่อพัฒนาสังคม ทั้งในเรื่องการบริหาร เศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชน แต่เมื่อเวลาผ่านไปผู้ปกครองดังกล่าวก็จะถูกระบบทำให้เสียคน หลงอำนาจ ปล่อยให้มีการฉ้อราษฎร์บังหลวง ไม่เอาใจใส่ต่อภารกิจของบ้านเมือง มุ่งหาความสุขส่วนตัว ฯลฯ และนั่นก็จะนำไปสู่จุดจบของความรุ่งเรืองทางการเมืองการบริหาร
ตัวอย่างเช่น ในระบบการปกครองของจีนโบราณนั้น องค์จักรพรรดิจะบริหารราชการแผ่นดินโดยมีการออกคำสั่งจากวังหลวง จักรพรรดิแห่ง อาณาจักรกลาง ซึ่งเป็นชื่อเรียกจีนอีกชื่อหนึ่ง หรือภายใต้ สรวงสวรรค์ จะอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์บางประการ เช่น จะต้องประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการปกครองบริหาร ขณะเดียวกันจักรพรรดิจีนก็จะอ้างอาณัติจากสวรรค์เพื่ออำนาจและความชอบธรรมของการปกครองบริหาร นอกจากนี้องค์จักรพรรดิก็ยังต้องอยู่ภายใต้การเมืองของกลุ่มต่างๆ ในพระราชวังหลวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล่าขันทีที่พยายามเอาชนะศัตรูทางการเมือง และในกระบวนการต่อสู้ทางการเมืองของกลุ่มต่างๆ ดังกล่าวองค์จักรพรรดิก็จะถูกจูงโดยขุนนางกังฉิน ขันที และกลุ่มอื่น ให้หลงทางได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มขันทีมักจะสมรู้ร่วมคิดกับขุนนางหรือเชื้อราชวงศ์อื่นเพื่อช่วงชิงราชบัลลังก์ แต่ปัญหาหนักที่เกิดขึ้นกับความเสื่อมของราชวงศ์ก็คือ องค์จักรพรรดิจะหาความสำราญส่วนพระองค์ในฮาเร็ม ปล่อยให้ขุนนางกังฉินครองแผ่นดิน โจรผู้ร้ายชุกชุม เขื่อนกั้นน้ำและการชลประทานล่มสลาย เกิดความแล้งเข็ญ น้ำท่วม พายุ และทุพภิกขภัย ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้เกิดขึ้นจากการหย่อนยานของการปกครองบริหาร การไร้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบ ความเสื่อมดังกล่าวนี้จะถูกมองว่าเป็นสัญญาณว่าสวรรค์ได้ถอนอาณัติการปกครองจากองค์จักรพรรดิ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เป็นเรื่องที่มีความชอบธรรมที่จะมีการเปลี่ยนราชวงศ์โดยผู้นำทางการเมืองจะนำชาวนาขึ้นก่อการกบฏ จากนั้นก็ตั้งตัวเป็นจักรพรรดิและประกาศตั้งราชวงศ์ใหม่
สรุปได้ว่าสาเหตุใหญ่ของการเสื่อมอำนาจและการสูญสิ้นราชวงศ์ในระบบการเมืองจีนโบราณนั้น เกิดจากตัวแปรดังต่อไปนี้
ประการแรก องค์จักรพรรดิเมื่อขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ ก็จะอุทิศตนให้กับแผ่นดินโดยการบูรณะเขื่อนและฝาย เปลี่ยนตัวขุนนางโดยเอาคนดีมีฝีมือมาช่วยบริหารประเทศ แก้ไขความเสื่อมทรามของสังคม แต่เมื่อผ่านไปหนึ่งชั่วคนจักรพรรดิองค์ใหม่ก็จะหาความสุขสำราญในทางโลกียวิสัย ลุแก่อำนาจ ใช้อำนาจรังแกบีฑาประชาราษฎร์ ผลสุดท้ายก็จะนำไปสู่ความเสื่อมสลายต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว จักรพรรดิก็จะถูกมองว่าเป็นทรราชซึ่งจะนำไปสู่ขบวนการที่จะเปลี่ยนราชวงศ์โดยการเกิดกบฏชาวนา โดยผู้ที่พยายามโค่นล้มราชบัลลังก์
ประการที่สอง จักรพรรดิที่ไม่คำนึงถึงความถูกต้องตามทำนองคลองธรรม จะมีพฤติกรรมที่นำไปสู่การสร้างความแปลกแยกกับกลุ่มชั้นสูงในสังคมจีน ซึ่งได้แก่ กลุ่มผู้บริหารที่เป็นนักปราชญ์มีฐานะโดยเป็นเจ้าของที่ดินและมีความรู้ โดยกลุ่มนักปราชญ์ดังกล่าวซึ่งมักจะเป็นขุนนางมองเห็นว่าจักรพรรดิ์ได้เปลี่ยนพฤติกรรมมาเป็นทรราช หรือมิฉะนั้นก็อาจมีความอ่อนแอถูกครอบงำโดยเหล่าขุนนางกังฉินหรือขันที ดังนั้น ความชอบธรรมในการบริหารจึงหมดไป อาณัติจากสวรรค์ก็จะไม่เป็นที่รับรองและใช้อ้างไม่ได้ เมื่อความรู้สึกเช่นนี้กระจายออกไปก็จะส่งผลให้มีความพยายามที่จะเปลี่ยนตัวจักรพรรดิ ล้มราชวงศ์แล้วเปลี่ยนราชวงศ์ใหม่
ประการที่สาม องค์จักรพรรดิซึ่งถูกล้อมรอบโดยกลุ่มขุนนางกังฉิน ขันที และเหล่าสนมกำนัลใน ซึ่งมุ่งตำแหน่งอำนาจและผลประโยชน์ จะถูกปิดไม่ให้รับข่าวสารที่แท้จริงจากโลกภายนอก ทุกคนต่างไม่ต้องการให้จักรพรรดิทราบข้อมูลที่เป็นข่าวร้าย ผลที่สุดทั้งองค์จักรพรรดิเองก็ไม่ทรงยินดีรับฟังข่าวร้ายหรือข้อมูลที่ไม่สบายใจ วาจาจริงซึ่งแสลงหูจึงเป็นสิ่งที่รับฟังไม่ได้ ในขณะเดียวกันคนล้อมรอบก็ไม่กล้าพูดความจริง มีแต่คำเพ็ดทูลที่กุขึ้นมาเพื่อเอาชนะคะคานศัตรู เมื่อข่าวสารข้อมูลบกพร่องการตัดสินนโยบายทางการเมืองก็ผิดพลาด ผลสุดท้ายก็จะถึงจุดจบขององค์จักรพรรดิและราชวงศ์
สิ่งซึ่งเรียนรู้จากประวัติศาสตร์จีนก็คือ ในแง่หนึ่งเรื่องที่เกิดขึ้นในเมืองจีนอันเป็นประวัติศาสตร์นั้นอาจจะเกิดขึ้นในประเทศจีนเท่านั้น และไม่สามารถจะนำไปปรับเข้ากับสถานการณ์ที่อื่นได้ อย่างไรก็ตาม ถ้ามองอีกมุมหนึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นในเมืองจีนนั้นเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของพฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งจะอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ทางสังคมศาสตร์ ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ใช้กันได้ทั่วไป เป็นต้นว่า ถ้าผู้นำคนใดถูกล้อมรอบด้วยบุคคลซึ่งขาดความรู้ หรือมุ่งหาผลประโยชน์ใส่ตัว ให้ข้อมูลที่ผิดๆ ผู้นำผู้นั้นไม่ว่าจะเป็นจักรพรรดิจีนในยุคโบราณ กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา จักรพรรดิแห่งอาณาจักรโรม หรือที่ใดก็ตาม ก็ย่อมดำเนินนโยบายผิดพลาดได้ ดังนั้น ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์จีนโบราณจึงไม่ใช่ลักษณะพิเศษของจีนโบราณเท่านั้น หากแต่เป็นทฤษฎีซึ่งสามารถจะใช้ปรับกับที่อื่นๆ ได้ด้วย
ตัวอย่างของการสรุปเป็นทฤษฎีโดยศึกษาจากผู้นำของประเทศต่างๆ ก็คืออมตะพจน์ของ ลอร์ด แอ็กตัน (Lord Acton) ที่กล่าวไว้ว่า "อำนาจมีแนวโน้มทำให้คนเสียคน และอำนาจเด็ดขาดยิ่งทำให้คนเสียคนเด็ดขาดยิ่งขึ้น" (Power tends to corrupt and absolute power corrupts absolutely) เป็นไปได้ว่า ลอร์ด แอ็กตันได้ตั้งข้อสังเกตดังกล่าว จากการศึกษาผู้นำทางการเมืองซึ่งจะมีการแปรผันเมื่ออยู่ในตำแหน่งนานๆ โดยจะเกิดความมั่นใจมากขึ้นและถ้าถูกแวดล้อมด้วยคนประจบสอพลอ ก็จะมีพฤติกรรมซึ่งอาจจะแปลกแยกไปจากขนบธรรมเนียมประเพณี จนบางครั้งมีการละเมิดกฎหมาย หรือมีการออกกฎหมายซึ่งไม่เป็นที่พอใจของประชาชน
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ สภาพของการเกิดปัญญาวิปริตในตัวหรือหมู่ผู้นำจนมีการตรากฎหมายหรือออกคำสั่งที่ก่อความเสียหายต่อสังคมและประชาชน ยกตัวอย่างเช่น พระเจ้าท้ายสระแห่งกรุงศรีอยุธยาทรงโปรดเสวยปลาตะเพียนเป็นอย่างมาก จึงมีการป่าวประกาศห้ามไม่ให้ราษฎรกินปลาตะเพียนเพื่อพระองค์ท่านจะเสวยได้แต่พระองค์เดียว ในกรณีของจีนนั้น จักรพรรดิองค์หนึ่งสร้างสระขนาดใหญ่ขึ้น เทสุราลงไปในสระ แขวนเนื้อดิบตามต้นไม้ จากนั้นก็ทรงพายเรือหาความสำราญโดยทรงใช้ภาชนะตักน้ำซึ่งเป็นสุราขึ้นมา และหยิบเนื้อซึ่งแขวนอยู่บนต้นไม้ซึ่งเป็นเนื้อดิบมาเสวยพร้อมสุรา พฤติกรรมการปฏิบัติเช่นนี้ย่อมเป็นที่ตำหนิติเตียนของเหล่านักปราชญ์ราชบัณฑิตและขุนนาง ซึ่งแม้จะหวังดีแต่ก็ไม่สามารถจะพูดจาตักเตือนได้ อีกกรณีหนึ่งเป็นยุคก่อนอยุธยาแตก ซึ่งถ้าเป็นความจริงก็จะสอดคล้องกับประเด็นที่จะมีการกล่าวถึงในขณะนี้ นั่นก็คือการห้ามมิให้ยิงปืนใหญ่ต่อสู้ข้าศึก เพราะเสียงปืนที่ดังนั้นทำให้เหล่านางสนมกำนัลในตกอกตกใจ ทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมานี้คือความอ่อนแอและตกอยู่ภายใต้ความยั่วยวนของอำนาจ นำไปสู่สิ่งที่เรียกว่าปัญญาวิปริต
นอกจากตัวอย่างที่กล่าวมาแล้ว ยังมีตัวอย่างของปัญญาวิปริตมีอยู่สามเรื่องด้วยกัน เรื่องแรก ก็คือการที่จักรพรรดิโรมันยืนดีดพิณดูเปลวเพลิงที่เผากรุงโรม ซึ่งพระองค์สั่งให้ทำการเผาเพื่อจะได้เห็นความหายนะและพระองค์ก็ทรงขับร้องเพลงและทรงดีดพิณมองดูความหายนะนั้นอย่างมีความสุข นี่เป็นอาการทางปัญญาวิปริตและความประชวรทางจิตขององค์จักรพรรดิอย่างแน่นอน
เรื่องที่สอง คือเรื่องที่กษัตริย์พม่าสั่งให้เอาเด็กผู้ชายวัยรุ่นจำนวน 400 คน ฝังทั้งเป็นเพื่อเป็นการบูชายัญตามคำแนะนำของพราหมณ์ปุโรหิต พระมหาเถระผู้ใหญ่ได้ร้องขอบิณฑบาตชีวิตของเด็กเหล่านั้นแต่ก็ไม่สำเร็จ ซึ่งถ้าเป็นจริงตามนี้ก็จะสะท้อนถึงปัญญาวิปริตของผู้นำพม่าในสมัยนั้น
เรื่องที่สาม จักรพรรดิจีนองค์หนึ่งยกกองทัพและทำลายอีกอาณาจักรหนึ่ง พร้อมทั้งสังหารผู้ครองนคร และได้ธิดาสาวของผู้ครองนครมาเป็นภรรยา ธิดาของผู้ครองนครวางแผนทำการแก้แค้นโดยทำให้องค์จักรพรรดิหลงเสน่ห์ จากนั้นก็ให้องค์จักรพรรดิมีนโยบายต่างๆ ซึ่งก่อความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน สุดท้ายนางขอดาวจากท้องฟ้า จักรพรรดิได้สั่งให้สร้างหอคอยสูงเสียดฟ้าเพื่อจะไปสอยดาว ผลสุดท้ายราชวงศ์นั้นก็ล่มสลาย
นี่คือตัวอย่างของปัญญาวิปริตซึ่งจะนำไปสู่ความหายนะทางการเมือง การปกครอง การบริหารงาน
จากความกริ่งเกรงเรื่องการหลงอำนาจ ลุแก่อำนาจ และการตัดสินใจที่ผิดพลาด จึงได้มีการกำหนดธรรมะแห่งการปกครองขึ้นในระบบการเมืองต่างๆ ทั่วโลก ในกรณีของประเทศไทยนั้น เรามีรูปแบบการปกครองแบบพ่อลูกซึ่งใช้เมตตาธรรมเป็นหลัก และต่อมาก็มีธรรมราชาซึ่งกษัตริย์เปรียบเสมือนพระโพธิสัตว์หรือพุทธเจ้า มีธรรมะเป็นฐาน นอกจากนั้นก็ยังมีหลักการการปกครองที่ได้มาจากอินเดีย อันได้แก่ ทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร ธรรมนิติ ฯลฯ ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวก็เพื่อมิให้การใช้อำนาจนั้นเป็นการละเมิดต่อความผาสุกของประชาชน ผิดทำนองคลองธรรม ดังนั้น ผู้ปกครองที่ดีคือผู้ปกครองที่มีธรรมะ ผู้ปกครองที่ขาดธรรมะและใช้อำนาจอย่างไม่ถูกต้องก็จะกลายเป็นทรราช ฮิตเลอร์ มุสโสลินี โตโจ ฯลฯ ล้วนถูกมองว่าเป็นผู้นำและผู้ปกครองที่มิได้ดำเนินไปตามธรรมะที่ถูกต้อง โดยเฉพาะฮิตเลอร์คือเผด็จการวิกลจริต สังหารหมู่ชาวยิวไป 6 ล้านคน และยิปซีกว่า 1 ล้านคน นอกจากนั้นยังสร้างความเสียหายให้กับประเทศยุโรป นำไปสู่การเสียชีวิตของคนเป็นสิบๆ ล้านคน
การปกครองของจีนโบราณสืบต่อมาเป็นเวลาหลายพันปี ในที่สุดก็ถึงแก่กาลอวสานเมื่อมีการปฏิวัติในปี ค.ศ.1911 (พ.ศ. 2464) และต่อมาในปี ค.ศ.1949 (พ.ศ. 2492) ก็ได้แปรเปลี่ยนเป็นสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์มาจนปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากความอ่อนแอบกพร่องของระบบและการลุแก่อำนาจของผู้ปกครอง ซึ่งก็มีกรณีอื่นๆ ที่พอจะเปรียบเทียบได้ แต่กรณีของจีนเป็นกรณีที่น่าจะเป็นแบบอย่างของการศึกษาถึงความรุ่งเรืองและการล่มสลายของระบบการเมืองโดยเกิดจากผู้นำทางการเมืองและระบบที่อ่อนแอเป็นตัวแปรสำคัญ
ตัวอย่างเช่น ในระบบการปกครองของจีนโบราณนั้น องค์จักรพรรดิจะบริหารราชการแผ่นดินโดยมีการออกคำสั่งจากวังหลวง จักรพรรดิแห่ง อาณาจักรกลาง ซึ่งเป็นชื่อเรียกจีนอีกชื่อหนึ่ง หรือภายใต้ สรวงสวรรค์ จะอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์บางประการ เช่น จะต้องประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการปกครองบริหาร ขณะเดียวกันจักรพรรดิจีนก็จะอ้างอาณัติจากสวรรค์เพื่ออำนาจและความชอบธรรมของการปกครองบริหาร นอกจากนี้องค์จักรพรรดิก็ยังต้องอยู่ภายใต้การเมืองของกลุ่มต่างๆ ในพระราชวังหลวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล่าขันทีที่พยายามเอาชนะศัตรูทางการเมือง และในกระบวนการต่อสู้ทางการเมืองของกลุ่มต่างๆ ดังกล่าวองค์จักรพรรดิก็จะถูกจูงโดยขุนนางกังฉิน ขันที และกลุ่มอื่น ให้หลงทางได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มขันทีมักจะสมรู้ร่วมคิดกับขุนนางหรือเชื้อราชวงศ์อื่นเพื่อช่วงชิงราชบัลลังก์ แต่ปัญหาหนักที่เกิดขึ้นกับความเสื่อมของราชวงศ์ก็คือ องค์จักรพรรดิจะหาความสำราญส่วนพระองค์ในฮาเร็ม ปล่อยให้ขุนนางกังฉินครองแผ่นดิน โจรผู้ร้ายชุกชุม เขื่อนกั้นน้ำและการชลประทานล่มสลาย เกิดความแล้งเข็ญ น้ำท่วม พายุ และทุพภิกขภัย ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้เกิดขึ้นจากการหย่อนยานของการปกครองบริหาร การไร้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบ ความเสื่อมดังกล่าวนี้จะถูกมองว่าเป็นสัญญาณว่าสวรรค์ได้ถอนอาณัติการปกครองจากองค์จักรพรรดิ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เป็นเรื่องที่มีความชอบธรรมที่จะมีการเปลี่ยนราชวงศ์โดยผู้นำทางการเมืองจะนำชาวนาขึ้นก่อการกบฏ จากนั้นก็ตั้งตัวเป็นจักรพรรดิและประกาศตั้งราชวงศ์ใหม่
สรุปได้ว่าสาเหตุใหญ่ของการเสื่อมอำนาจและการสูญสิ้นราชวงศ์ในระบบการเมืองจีนโบราณนั้น เกิดจากตัวแปรดังต่อไปนี้
ประการแรก องค์จักรพรรดิเมื่อขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ ก็จะอุทิศตนให้กับแผ่นดินโดยการบูรณะเขื่อนและฝาย เปลี่ยนตัวขุนนางโดยเอาคนดีมีฝีมือมาช่วยบริหารประเทศ แก้ไขความเสื่อมทรามของสังคม แต่เมื่อผ่านไปหนึ่งชั่วคนจักรพรรดิองค์ใหม่ก็จะหาความสุขสำราญในทางโลกียวิสัย ลุแก่อำนาจ ใช้อำนาจรังแกบีฑาประชาราษฎร์ ผลสุดท้ายก็จะนำไปสู่ความเสื่อมสลายต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว จักรพรรดิก็จะถูกมองว่าเป็นทรราชซึ่งจะนำไปสู่ขบวนการที่จะเปลี่ยนราชวงศ์โดยการเกิดกบฏชาวนา โดยผู้ที่พยายามโค่นล้มราชบัลลังก์
ประการที่สอง จักรพรรดิที่ไม่คำนึงถึงความถูกต้องตามทำนองคลองธรรม จะมีพฤติกรรมที่นำไปสู่การสร้างความแปลกแยกกับกลุ่มชั้นสูงในสังคมจีน ซึ่งได้แก่ กลุ่มผู้บริหารที่เป็นนักปราชญ์มีฐานะโดยเป็นเจ้าของที่ดินและมีความรู้ โดยกลุ่มนักปราชญ์ดังกล่าวซึ่งมักจะเป็นขุนนางมองเห็นว่าจักรพรรดิ์ได้เปลี่ยนพฤติกรรมมาเป็นทรราช หรือมิฉะนั้นก็อาจมีความอ่อนแอถูกครอบงำโดยเหล่าขุนนางกังฉินหรือขันที ดังนั้น ความชอบธรรมในการบริหารจึงหมดไป อาณัติจากสวรรค์ก็จะไม่เป็นที่รับรองและใช้อ้างไม่ได้ เมื่อความรู้สึกเช่นนี้กระจายออกไปก็จะส่งผลให้มีความพยายามที่จะเปลี่ยนตัวจักรพรรดิ ล้มราชวงศ์แล้วเปลี่ยนราชวงศ์ใหม่
ประการที่สาม องค์จักรพรรดิซึ่งถูกล้อมรอบโดยกลุ่มขุนนางกังฉิน ขันที และเหล่าสนมกำนัลใน ซึ่งมุ่งตำแหน่งอำนาจและผลประโยชน์ จะถูกปิดไม่ให้รับข่าวสารที่แท้จริงจากโลกภายนอก ทุกคนต่างไม่ต้องการให้จักรพรรดิทราบข้อมูลที่เป็นข่าวร้าย ผลที่สุดทั้งองค์จักรพรรดิเองก็ไม่ทรงยินดีรับฟังข่าวร้ายหรือข้อมูลที่ไม่สบายใจ วาจาจริงซึ่งแสลงหูจึงเป็นสิ่งที่รับฟังไม่ได้ ในขณะเดียวกันคนล้อมรอบก็ไม่กล้าพูดความจริง มีแต่คำเพ็ดทูลที่กุขึ้นมาเพื่อเอาชนะคะคานศัตรู เมื่อข่าวสารข้อมูลบกพร่องการตัดสินนโยบายทางการเมืองก็ผิดพลาด ผลสุดท้ายก็จะถึงจุดจบขององค์จักรพรรดิและราชวงศ์
สิ่งซึ่งเรียนรู้จากประวัติศาสตร์จีนก็คือ ในแง่หนึ่งเรื่องที่เกิดขึ้นในเมืองจีนอันเป็นประวัติศาสตร์นั้นอาจจะเกิดขึ้นในประเทศจีนเท่านั้น และไม่สามารถจะนำไปปรับเข้ากับสถานการณ์ที่อื่นได้ อย่างไรก็ตาม ถ้ามองอีกมุมหนึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นในเมืองจีนนั้นเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของพฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งจะอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ทางสังคมศาสตร์ ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ใช้กันได้ทั่วไป เป็นต้นว่า ถ้าผู้นำคนใดถูกล้อมรอบด้วยบุคคลซึ่งขาดความรู้ หรือมุ่งหาผลประโยชน์ใส่ตัว ให้ข้อมูลที่ผิดๆ ผู้นำผู้นั้นไม่ว่าจะเป็นจักรพรรดิจีนในยุคโบราณ กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา จักรพรรดิแห่งอาณาจักรโรม หรือที่ใดก็ตาม ก็ย่อมดำเนินนโยบายผิดพลาดได้ ดังนั้น ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์จีนโบราณจึงไม่ใช่ลักษณะพิเศษของจีนโบราณเท่านั้น หากแต่เป็นทฤษฎีซึ่งสามารถจะใช้ปรับกับที่อื่นๆ ได้ด้วย
ตัวอย่างของการสรุปเป็นทฤษฎีโดยศึกษาจากผู้นำของประเทศต่างๆ ก็คืออมตะพจน์ของ ลอร์ด แอ็กตัน (Lord Acton) ที่กล่าวไว้ว่า "อำนาจมีแนวโน้มทำให้คนเสียคน และอำนาจเด็ดขาดยิ่งทำให้คนเสียคนเด็ดขาดยิ่งขึ้น" (Power tends to corrupt and absolute power corrupts absolutely) เป็นไปได้ว่า ลอร์ด แอ็กตันได้ตั้งข้อสังเกตดังกล่าว จากการศึกษาผู้นำทางการเมืองซึ่งจะมีการแปรผันเมื่ออยู่ในตำแหน่งนานๆ โดยจะเกิดความมั่นใจมากขึ้นและถ้าถูกแวดล้อมด้วยคนประจบสอพลอ ก็จะมีพฤติกรรมซึ่งอาจจะแปลกแยกไปจากขนบธรรมเนียมประเพณี จนบางครั้งมีการละเมิดกฎหมาย หรือมีการออกกฎหมายซึ่งไม่เป็นที่พอใจของประชาชน
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ สภาพของการเกิดปัญญาวิปริตในตัวหรือหมู่ผู้นำจนมีการตรากฎหมายหรือออกคำสั่งที่ก่อความเสียหายต่อสังคมและประชาชน ยกตัวอย่างเช่น พระเจ้าท้ายสระแห่งกรุงศรีอยุธยาทรงโปรดเสวยปลาตะเพียนเป็นอย่างมาก จึงมีการป่าวประกาศห้ามไม่ให้ราษฎรกินปลาตะเพียนเพื่อพระองค์ท่านจะเสวยได้แต่พระองค์เดียว ในกรณีของจีนนั้น จักรพรรดิองค์หนึ่งสร้างสระขนาดใหญ่ขึ้น เทสุราลงไปในสระ แขวนเนื้อดิบตามต้นไม้ จากนั้นก็ทรงพายเรือหาความสำราญโดยทรงใช้ภาชนะตักน้ำซึ่งเป็นสุราขึ้นมา และหยิบเนื้อซึ่งแขวนอยู่บนต้นไม้ซึ่งเป็นเนื้อดิบมาเสวยพร้อมสุรา พฤติกรรมการปฏิบัติเช่นนี้ย่อมเป็นที่ตำหนิติเตียนของเหล่านักปราชญ์ราชบัณฑิตและขุนนาง ซึ่งแม้จะหวังดีแต่ก็ไม่สามารถจะพูดจาตักเตือนได้ อีกกรณีหนึ่งเป็นยุคก่อนอยุธยาแตก ซึ่งถ้าเป็นความจริงก็จะสอดคล้องกับประเด็นที่จะมีการกล่าวถึงในขณะนี้ นั่นก็คือการห้ามมิให้ยิงปืนใหญ่ต่อสู้ข้าศึก เพราะเสียงปืนที่ดังนั้นทำให้เหล่านางสนมกำนัลในตกอกตกใจ ทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมานี้คือความอ่อนแอและตกอยู่ภายใต้ความยั่วยวนของอำนาจ นำไปสู่สิ่งที่เรียกว่าปัญญาวิปริต
นอกจากตัวอย่างที่กล่าวมาแล้ว ยังมีตัวอย่างของปัญญาวิปริตมีอยู่สามเรื่องด้วยกัน เรื่องแรก ก็คือการที่จักรพรรดิโรมันยืนดีดพิณดูเปลวเพลิงที่เผากรุงโรม ซึ่งพระองค์สั่งให้ทำการเผาเพื่อจะได้เห็นความหายนะและพระองค์ก็ทรงขับร้องเพลงและทรงดีดพิณมองดูความหายนะนั้นอย่างมีความสุข นี่เป็นอาการทางปัญญาวิปริตและความประชวรทางจิตขององค์จักรพรรดิอย่างแน่นอน
เรื่องที่สอง คือเรื่องที่กษัตริย์พม่าสั่งให้เอาเด็กผู้ชายวัยรุ่นจำนวน 400 คน ฝังทั้งเป็นเพื่อเป็นการบูชายัญตามคำแนะนำของพราหมณ์ปุโรหิต พระมหาเถระผู้ใหญ่ได้ร้องขอบิณฑบาตชีวิตของเด็กเหล่านั้นแต่ก็ไม่สำเร็จ ซึ่งถ้าเป็นจริงตามนี้ก็จะสะท้อนถึงปัญญาวิปริตของผู้นำพม่าในสมัยนั้น
เรื่องที่สาม จักรพรรดิจีนองค์หนึ่งยกกองทัพและทำลายอีกอาณาจักรหนึ่ง พร้อมทั้งสังหารผู้ครองนคร และได้ธิดาสาวของผู้ครองนครมาเป็นภรรยา ธิดาของผู้ครองนครวางแผนทำการแก้แค้นโดยทำให้องค์จักรพรรดิหลงเสน่ห์ จากนั้นก็ให้องค์จักรพรรดิมีนโยบายต่างๆ ซึ่งก่อความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน สุดท้ายนางขอดาวจากท้องฟ้า จักรพรรดิได้สั่งให้สร้างหอคอยสูงเสียดฟ้าเพื่อจะไปสอยดาว ผลสุดท้ายราชวงศ์นั้นก็ล่มสลาย
นี่คือตัวอย่างของปัญญาวิปริตซึ่งจะนำไปสู่ความหายนะทางการเมือง การปกครอง การบริหารงาน
จากความกริ่งเกรงเรื่องการหลงอำนาจ ลุแก่อำนาจ และการตัดสินใจที่ผิดพลาด จึงได้มีการกำหนดธรรมะแห่งการปกครองขึ้นในระบบการเมืองต่างๆ ทั่วโลก ในกรณีของประเทศไทยนั้น เรามีรูปแบบการปกครองแบบพ่อลูกซึ่งใช้เมตตาธรรมเป็นหลัก และต่อมาก็มีธรรมราชาซึ่งกษัตริย์เปรียบเสมือนพระโพธิสัตว์หรือพุทธเจ้า มีธรรมะเป็นฐาน นอกจากนั้นก็ยังมีหลักการการปกครองที่ได้มาจากอินเดีย อันได้แก่ ทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร ธรรมนิติ ฯลฯ ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวก็เพื่อมิให้การใช้อำนาจนั้นเป็นการละเมิดต่อความผาสุกของประชาชน ผิดทำนองคลองธรรม ดังนั้น ผู้ปกครองที่ดีคือผู้ปกครองที่มีธรรมะ ผู้ปกครองที่ขาดธรรมะและใช้อำนาจอย่างไม่ถูกต้องก็จะกลายเป็นทรราช ฮิตเลอร์ มุสโสลินี โตโจ ฯลฯ ล้วนถูกมองว่าเป็นผู้นำและผู้ปกครองที่มิได้ดำเนินไปตามธรรมะที่ถูกต้อง โดยเฉพาะฮิตเลอร์คือเผด็จการวิกลจริต สังหารหมู่ชาวยิวไป 6 ล้านคน และยิปซีกว่า 1 ล้านคน นอกจากนั้นยังสร้างความเสียหายให้กับประเทศยุโรป นำไปสู่การเสียชีวิตของคนเป็นสิบๆ ล้านคน
การปกครองของจีนโบราณสืบต่อมาเป็นเวลาหลายพันปี ในที่สุดก็ถึงแก่กาลอวสานเมื่อมีการปฏิวัติในปี ค.ศ.1911 (พ.ศ. 2464) และต่อมาในปี ค.ศ.1949 (พ.ศ. 2492) ก็ได้แปรเปลี่ยนเป็นสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์มาจนปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากความอ่อนแอบกพร่องของระบบและการลุแก่อำนาจของผู้ปกครอง ซึ่งก็มีกรณีอื่นๆ ที่พอจะเปรียบเทียบได้ แต่กรณีของจีนเป็นกรณีที่น่าจะเป็นแบบอย่างของการศึกษาถึงความรุ่งเรืองและการล่มสลายของระบบการเมืองโดยเกิดจากผู้นำทางการเมืองและระบบที่อ่อนแอเป็นตัวแปรสำคัญ
การแผ่ขยายและการสืบทอดอารยธรรมจีน
นับตั้งแต่มีรัฐชาติเกิดขึ้น จีนก็เป็นประเทศที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ และมีประชากรมากที่สุดในโลก ซึ่งประเทศที่มีขนาดใหญ่และมีประชากรมากใกล้เคียงกับจีน ก็คืออินเดีย และถ้า 2 ประเทศนี้ไม่มีเทือกเขาสูงหิมาลัยกั้นแล้วไซร้ ก็คงเกิดสงครามขนาดใหญ่จากความขัดแย้งของ 2 มหาอำนาจในยุครัฐชาติแน่นอน
ในรัชสมัยหย่งเล่อ แห่งราชวงศ์หมิง พระองค์ได้มอบหมายให้เจิ้งเหอออกสำรวจทางทะเลรวม 7 ครั้ง เป็นระยะเวลา 28 ปี โดยเดินทางท่องแดนมากกว่า 37 ประเทศ นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ.1405 (พ.ศ.1948) หรือประมาณ 610 ปี มาแล้วซึ่งเป็นรัชสมัยของสมเด็จพระธรรมราชาธิราช แห่งราชวงศ์อู่ทอง
เจิ้งเหอเป็นผู้บัญชากองเรือที่เรียกว่า “เป่าฉวน” แปลว่าเรือมหาสมบัติ เรือธงของเจิ้งเหอ ยาว 400 ฟุต ใหญ่กว่าเรือซานตานาเรียของโคลัมบัสที่ยาวเพียง 85 ฟุต ถึง 5 เท่า ในการเดินทางครั้งแรกนี้ มีเรือขนาดใหญ่ 60 ลำ ขนาดเล็ก 255 ลำ มีลูกเรือทั้งหมด 27,870 คน โดยเดินทางเลียบชายฝั่งฟูเกียน ผ่านไปยังอาณาจักรจามปา ชวา มะละกา สุมาตรา และแลมบรี ทางตอนเหนือสุมาตรา จากนั้นเดินทางต่อไปยังเกาะลังกา กาลิกัต โดยมีวัตถุประสงค์ คือ เจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆและมีการแลกเปลี่ยนค้าขายกัน อนึ่งในการเดินทางครั้งต่อๆมาก็มีลักษณะใกล้เคียงกันแต่เดินทางไกลขึ้นไปถึงตะวันออกกลาง และอาฟริกา บางกระแสอ้างว่าไปถึงทวีปอเมริกาซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น เจิ้งเหอก็ไปถึงก่อนโคลัมบัสเสียอีก
ผลพวงจากการเดินทางและแวะตามเมืองท่าต่างๆก็มีบรรดาลูกเรือและพ่อค้าที่ติดขบวนเรือไปด้วยบางส่วน ลงไปตั้งถิ่นฐานทำมาหากินและค้าขายแผ่ขยายชาติพันธุ์ โดยสมรสกันเองในหมู่ชาวจีน หรือสมรสกับคนในท้องถิ่นนั้นๆ จนเกิดเป็นชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลที่กระจายไปทั่วโลก โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน
ยุคสำคัญยุค 2 ของจีนที่มีการอพยพออกนอกประเทศเป็นจำนวนมากก็คือยุคสงครามในจีนสมัยปลายราชวงศ์เช็ง จนถึงสมัยที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ชัยชนะปกครองประเทศจีน ทำให้จำนวนชาวจีนโพ้นทะเลเพิ่มมากขึ้น ผู้มีกำลังความสามารถก็มักจะอพยพไปไกลจนถึงยุโรปและอเมริกา ส่วนพวกทุนน้อย หรือผู้ใช้แรงงานประเภทเสื่อผืนหมอนใบก็อพยพใกล้หน่อยคืออยู่แถบอาเซียน
ในอาเซียนนี้ที่ใดที่มีวัฒนธรรมที่ไม่แข็งชาวจีนโพ้นทะเลก็จะผสมกลมกลืนวัฒนธรรมท้องถิ่นกับวัฒนธรรมจีน ทั้งนี้เนื่องจากวัฒนธรรมจีนและอัตลักษณ์ของจีน มีความเข้มแข็งก็เลยครอบงำวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของคนท้องถิ่นอย่างชาญฉลาดในลักษณะความเป็นพี่น้องกัน ถึงขนาดสร้างมายาคติในทางประวัติศาสตร์ทีเดียว แต่ถ้าในประเทศที่มีวัฒนธรรมที่แข็ง หรือ มีอัตลักษณ์ที่เข้มแข็งแม้มีวัฒนธรรมไม่แตกต่างมาก อย่างเวียดนาม ชาวจีนโพ้นทะเลก็จะจับกันเป็นกลุ่มก้อน และครอบงำทางเศรษฐกิจ เช่น ในมาเลเซียและอินโดนีเซีย จนกระทั่งเกิดความขัดแย้งกับชนพื้นเมืองและเกิดการจลาจลเข่นฆ่ากันขึ้น ซึ่งในประเทศไทยก็เคยเกิดกบฏอั้งยี่ในสมัยรัชกาลที่ 5 มาแล้ว แต่หลังจากเหตุการณ์เหล่านั้น ชาวจีนโพ้นทะเลก็ใช้นโยบายประนีประนอมมากขึ้น โดยเข้าร่วมทางการเมือง หรือเข้ารับราชการมากขึ้น จนมีบทบาทสูงขึ้นในการตัดสินใจทางการเมือง อย่างกรณีของมาเลเซีย และอินโดนีเซีย เป็นต้น แต่ของไทยนั้นได้ผสมกลมกลืนจนแยกเกือบไม่ออก แต่อย่างที่กล่าวแต่ต้นก็คือรุกคืบในการครอบงำทางวัฒนธรรม ทางความคิด ด้วยกระบวนการต่างๆแม้แต่การใช้สื่อสนับสนุน แม้แต่ละครทีวี
ครั้นมาสู่ยุคใหม่ ที่จีนมีนโยบายเปิดประเทศและใช้นโยบายเศรษฐกิจ 1 ประเทศ 2 ระบบของเติ้ง เสี่ยวผิง ผู้นำจีนทำให้จีนมีความเจริญรุดหน้าในทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วจนปัจจุบันมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 จีนก็เริ่มปรับบทบาทเป็นประเทศที่เริ่มรุกทางเศรษฐกิจด้วยการขยายการลงทุน การให้เงินช่วยเหลือหรือการร่วมมือในโครงการขนาดใหญ่ๆกับประเทศต่างๆ ในอาเซียนและทั่วโลก ในกลุ่มอาเซียนนี้จีนถือว่าเป็นเขตอิทธิพลของตน ซึ่งแนวคิดนี้สืบทอดมาแต่ยุคราชวงศ์ต่างๆแล้ว อย่างเช่นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงที่มีบันทึกว่าเราเคยส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองไปเจริญสัมพันธไมตรี แต่ทางจีนเข้าใจว่าเรายอมเป็นประเทศราช หรือประเทศในเขตอิทธิพลของจีน เป็นต้น
จะเห็นได้ว่านับตั้งแต่เป็นรัฐชาติเป็นต้นมา จีนมักจะไม่ใช้กำลังทหารออกมายึดครองประเทศต่างๆนอกอาณาเขต ยกเว้นกรณีเวียดนาม สาเหตุสำคัญอาจจะเป็นเพราะสภาพทางภูมิประเทศไม่เอื้ออำนวย แต่จีนมุ่งผนวกดินแดนที่อยู่ในพื้นที่ๆมีอาณาเขตติดต่อใกล้เคียง ง่ายต่อการควบคุม เช่น ทิเบต หรือตุรกีสถานตะวันออก ซึ่งต่อมาคือ ซินเกียงนั่นเอง
แต่หลังจากการเปิดประเทศจีนเริ่มมีนโยบายในทางรุก โดยสังเกตได้จากการปรับเปลี่ยนกองกำลังทางทะเล จากการตั้งรับมาสู่การรุก (Deep Blue Sea) เช่น การมีเรือบรรทุกเครื่องบิน และเรือดำน้ำ ซึ่งแต่เดิมจะเป็นกองเรือรักษาชายฝั่ง ทำให้จีนเริ่มเข้ามาครอบครองหมู่เกาะสแปรตลีย์ และหมู่เกาะพาราเซล และเกิดความขัดแย้งกับบางประเทศในอาเซียน
ในทางเศรษฐกิจการเข้ามาลงทุนขนาดใหญ่ เช่น การขนส่งทางราง เช่น รถไฟ รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง จีนได้ทำการรุกเข้าไปในประเทศลาวและพม่า ด้วยการก่อสร้างเส้นทางคมนาคม โดยจีนเสนอให้ในลักษณะการช่วยเหลือ แต่มีเงื่อนไขว่าต้องใช้ทุนจีน เครื่องจักรจีน และคนงานจีน ซึ่งทำให้จีนต่อรองในลักษณะสิทธิสภาพนอกอาณาเขต คือ รัฐบาลท้องถิ่นจะดำเนินคดีกับชาวจีนเหล่านั้นไม่ได้ ต้องให้ทางการจีนเข้ามาดำเนินการ หรือมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม ที่สำคัญเมื่อโครงการเหล่านั้นสำเร็จแล้ว ชาวจีนเหล่านั้นไม่ยอมอพยพออก อาจจะอาศัยข้ออ้างเรื่องสัมปทาน หรือการซ่อมบำรุงก็แล้วแต่ ทั้งนี้รัฐบาลท้องถิ่นก็ไม่กล้าดำเนินการรุนแรง เพราะเกรงใจจีนที่เป็นมหาอำนาจและอยู่ติดกัน จีนเรียกนโยบายนี้ว่าเป็นนโยบายชายขอบ ซึ่งได้เกิดข้อพิพาทมาแล้วกับลาวและเมียนมาร์ บางกรณีเกิดจากการบุกรุกเข้ามาทำผิดกฎหมายในประเทศอื่นทางการจีนก็เข้าแทรกแซง เช่น กรณีชาวจีนนับร้อยบุกรุกเข้ามาตัดไม้ทำลายป่าในเมียนมาร์ ครั้นเมียนมาร์จัดการจับกุมและลงโทษหนักจีนก็ทำการประท้วง และกดดันจนเมียนมาร์ต้องถอย ส่วนลาวนั้น 2 ข้างทางรถไฟจากสิบสองปันนามาหลวงพระบาง 10 กม. ตกเป็นเขตอิทธิพลของจีนไปโดยปริยาย
ส่วนเรื่องโครงการใหญ่ๆ เช่น รถไฟความเร็วสูง หรือปานกลาง จีนก็ให้การสนับสนุนเป็นแพ็คเกจ คือให้กู้ทำการก่อสร้างและส่งมอบในระยะเวลาที่ตกลง ซึ่งนโยบายนี้จีนใช้กับทุกประเทศ แต่เงื่อนไขรายละเอียดจะแตกต่างกันออกไป แต่โดยปริยายจีนต้องการระบายพลเมืองของตนที่มีจำนวนมากให้ออกไปอยู่ในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในเขตอิทธิพลของตน เช่น อาเซียน ทั้งนี้นอกจากอิทธิพลในฐานะมหาอำนาจแล้ว จีนยังมีทุนสำรองคือชาวจีน โพ้นทะเล ซึ่งมีอัตลักษณ์ และเชื้อชาติที่ผูกพันกัน เช่น วัฒนธรรม หรือสายสัมพันธ์ของตระกูล คือแซ่นั่นเอง ซึ่งถูกทำให้กระชับตัวมากขึ้นด้วยการค้าขายและการลงทุนของจีนในภูมิภาคนี้ ตัวอย่างสำหรับไทยก็คือการค้าขายพืชผลทางการเกษตร ซึ่งแต่เดิมอยู่ในมือพ่อค้าคนจีนในประเทศไทย รวมทั้งการค้าชายแดน แต่ตอนนี้ธุรกิจการค้าเหล่านี้อยู่ภายใต้การกำกับของจีนโดยรัฐบาลจีนให้การสนับสนุน ทั้งนี้อาศัยสายสัมพันธ์กับพ่อค้าชาวจีนในไทย
กลับไปสู่การขยายตัวทางทหารของจีนได้สร้างฐานทัพเรือที่ศรีลังกา และดำเนินการทำนองเดียวกันที่สีหนุวิลล์ในกัมพูชา ส่วนทางเศรษฐกิจจีนก็สนับสนุนให้ใช้เงินหยวนเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน และสร้างระบบการธนาคารมาแข่งกับ IMF และ WORLD BANK ที่อยู่ใต้อิทธิพลของตะวันตก
แต่การลงทุนกับจีนในโครงการใหญ่ๆ ประเทศไทยควรพิจารณาถึงประเด็นทางการเมืองเหล่านี้ไว้ด้วย ในขณะที่เงินกู้จากจีนก็มีดอกเบี้ยสูงแถมระยะเวลาสั้น สินค้าจากจีน เช่น รถไฟจะมีเทคโนโลยีที่ด้อยกว่าญี่ปุ่น และเยอรมัน ตลอดจนอายุการใช้งานจะสั้นกว่า การซ่อมบำรุงสูงกว่าแม้จะมีราคาถูกก็ตาม
ประเด็นสำคัญคือการต่อรองกับจีนนั้นควรทำในลักษณะกลุ่มหรือ Multilateral เช่น ผ่านองค์การระหว่างประเทศ เพราะถ้าทำตัวต่อตัวเราจะเสียเปรียบมาก ในอนาคตผู้เขียนเชื่อว่าความขัดแย้งระหว่างชาวจีนโพ้นทะเลในบางประเทศอาเซียนอาจทวีความรุนแรงมากขึ้น เช่น ในอินโดนีเซีย และมาเลเซีย และรัฐบาลจีน คงต้องเข้าแทรกแซงแน่นอน เพราะถือว่าตนเองมีหน้าที่ต้องให้ความคุ้มครองคนเชื้อชาติเดียวกัน โดยจีนใช้คำว่าการให้ความเคารพของรัฐบาลท้องถิ่น
อารยธรรมจีนในยุคต่างๆ
ประเทศจีนประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่าอารยธรรมจีนมีอายุถึง 5,000 ปี รากฐานที่สำคัญของอารยธรรมจีนคือ การสร้างระบบภาษาเขียน และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อประมาณศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักรสลับกันไป ในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอื่น วัฒนธรรมของจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชาติอื่นๆ ในทวีปเอเชีย ซึ่งถ่ายทอดไปทั้งการอพยพ การค้า และการยึดครอง
อารยธรรมจีนสมัยก่อนประวัติศาสตร์
มีแหล่งอารยธรรมที่สำคัญ 2 แหล่ง คือ
มีแหล่งอารยธรรมที่สำคัญ 2 แหล่ง คือ
1. ลุ่มแม่น้ำฮวงโห
พบความเจริญที่เรียกว่า วัฒนธรรมหยางเชา พบหลักฐานที่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีลักษณะสำคัญคือ เครื่องปั้นดินเผาเป็นลายเขียนสี มักเป็นลายเรขาคณิต พืช นก สัตว์ต่างๆ และพบใบหน้ามนุษย์ สีที่ใช้เป็นสีดำหรือสีม่วงเข้ม นอกจากนี้ยังมีการพิมพ์ลายหรือขูดสลักลายเป็นรูปลายจักสาน ลายเชือกทาบ
พบความเจริญที่เรียกว่า วัฒนธรรมหยางเชา พบหลักฐานที่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีลักษณะสำคัญคือ เครื่องปั้นดินเผาเป็นลายเขียนสี มักเป็นลายเรขาคณิต พืช นก สัตว์ต่างๆ และพบใบหน้ามนุษย์ สีที่ใช้เป็นสีดำหรือสีม่วงเข้ม นอกจากนี้ยังมีการพิมพ์ลายหรือขูดสลักลายเป็นรูปลายจักสาน ลายเชือกทาบ
2. ลุ่มน้ำแยงซี
บริเวณมณฑลชานตุงพบ วัฒนธรรมหลงซาน พบหลักฐานที่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีลักษณะสำคัญคือ เครื่องปั้นดินเผามีเนื้อละเอียดสีดำขัดมันเงา คุณภาพดีเนื้อบางและแกร่งเป็นภาชนะ3ขา
บริเวณมณฑลชานตุงพบ วัฒนธรรมหลงซาน พบหลักฐานที่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีลักษณะสำคัญคือ เครื่องปั้นดินเผามีเนื้อละเอียดสีดำขัดมันเงา คุณภาพดีเนื้อบางและแกร่งเป็นภาชนะ3ขา
อารยธรรมจีนสมัยประวัติศาสตร์ แบ่งได้ 4 ยุค
1. ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชาง สิ้นสุดสมัยราชวงศ์โจว
2. ประวัติศาสตร์สมัยจักรวรรดิ เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิ๋น จนถึงปลายราชวงศ์ชิงหรือเช็ง
3. ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มปลายราชวงศ์เช็งจนถึงการปฏิวัติเข้าสู่ระบอบสังคมนิยม
4. ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย เริ่มตั้งแต่จีนปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์จนถึงปัจจุบัน
1. ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชาง สิ้นสุดสมัยราชวงศ์โจว
2. ประวัติศาสตร์สมัยจักรวรรดิ เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิ๋น จนถึงปลายราชวงศ์ชิงหรือเช็ง
3. ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มปลายราชวงศ์เช็งจนถึงการปฏิวัติเข้าสู่ระบอบสังคมนิยม
4. ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย เริ่มตั้งแต่จีนปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์จนถึงปัจจุบัน
อารยธรรมจีนในสมัยราชวงศ์ต่างๆ มีดังนี้
แบ่งเป็น 10 ราชวงศ์ ดังนี้
1. ราชวงศ์ชาง
เป็นราชวงศ์แรกของจีน ประมาณ 1,500 ปีก่อนค.ศ. ที่เมืองอันยาง มณฑลโฮนาน เริ่มมีการตั้งชุมชน และการปกครองแบบนครรัฐ ลักษณะเป็นสังคมเกษตรกรรม มีการประดิษฐ์อักษรภาพ 5,000 ตัวเขียนบนกระดองเต่า มีเทพเจ้าที่สำคัญคือเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ มีการประกอบพิธีบูชาบรรพบุรุษ เซ่นไหว้เทพเจ้า
เป็นราชวงศ์แรกของจีน ประมาณ 1,500 ปีก่อนค.ศ. ที่เมืองอันยาง มณฑลโฮนาน เริ่มมีการตั้งชุมชน และการปกครองแบบนครรัฐ ลักษณะเป็นสังคมเกษตรกรรม มีการประดิษฐ์อักษรภาพ 5,000 ตัวเขียนบนกระดองเต่า มีเทพเจ้าที่สำคัญคือเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ มีการประกอบพิธีบูชาบรรพบุรุษ เซ่นไหว้เทพเจ้า
2. ราชวงศ์โจว
กำเนิดเมื่อ 1,000-221 ปี ก่อน ค.ศ. ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของสมัยศักดินา(ระบบเฟิงเจี้ยน)และถือว่าเป็นยุคคลาสิคของจีน
-มีการมอบกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้ที่สนับสนุนราชวงศ์ กำหนดสิทธิหน้าที่ตามลำดับชั้นฐานันดรศักดิ์
-มีการแต่งตั้งผู้แทนกษัตริย์เป็นข้าหลวงประจำหัวเมือง
-มีการกำหนดหลักเกณฑ์ “เทียนมิ่ง”(อาณัติสวรรค์)มอบอำนาจให้กษัตริย์ราชวงศ์โจวปกครอง กษัตริย์มีฐานะเป็นโอรสสวรรค์ ถ้าปกครองด้วยความ ยุติธรรม หากปกครองโดยไร้คุณธรรมกษัตริย์จะถูกเพิกถอนจากผู้ทรงคุณธรรม ถือเป็นแนวคิดที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของจีนตลอด 2000 ปี
-เกิดนักปรัชญาเมธีที่ส่งผลให้ราชวงศ์โจวเป็นยุคทองของภูมิปัญญาที่ส่งผลต่อความเชื่อ ค่านิยม ปรัชญาของสังคมจีนในสมัยนี้ ระบบราชการจะยึดแนวอุดมการณ์ของขงจื๊อ คือผู้ปกครองเป็นตัวแทนของกษัตริย์ต้องปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชน แนวคิดของขงจื๊อและเล่าจื๊อมุ่งแสวงหาหลักของศีลธรรมจรรยาและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม เน้นการทำหน้าที่ของตน ระบบครอบครัวของจีนยึดความกตัญญูและนับถือผู้อาวุโสตามหลักคำสอนของขงจื๊อ
กำเนิดเมื่อ 1,000-221 ปี ก่อน ค.ศ. ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของสมัยศักดินา(ระบบเฟิงเจี้ยน)และถือว่าเป็นยุคคลาสิคของจีน
-มีการมอบกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้ที่สนับสนุนราชวงศ์ กำหนดสิทธิหน้าที่ตามลำดับชั้นฐานันดรศักดิ์
-มีการแต่งตั้งผู้แทนกษัตริย์เป็นข้าหลวงประจำหัวเมือง
-มีการกำหนดหลักเกณฑ์ “เทียนมิ่ง”(อาณัติสวรรค์)มอบอำนาจให้กษัตริย์ราชวงศ์โจวปกครอง กษัตริย์มีฐานะเป็นโอรสสวรรค์ ถ้าปกครองด้วยความ ยุติธรรม หากปกครองโดยไร้คุณธรรมกษัตริย์จะถูกเพิกถอนจากผู้ทรงคุณธรรม ถือเป็นแนวคิดที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของจีนตลอด 2000 ปี
-เกิดนักปรัชญาเมธีที่ส่งผลให้ราชวงศ์โจวเป็นยุคทองของภูมิปัญญาที่ส่งผลต่อความเชื่อ ค่านิยม ปรัชญาของสังคมจีนในสมัยนี้ ระบบราชการจะยึดแนวอุดมการณ์ของขงจื๊อ คือผู้ปกครองเป็นตัวแทนของกษัตริย์ต้องปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชน แนวคิดของขงจื๊อและเล่าจื๊อมุ่งแสวงหาหลักของศีลธรรมจรรยาและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม เน้นการทำหน้าที่ของตน ระบบครอบครัวของจีนยึดความกตัญญูและนับถือผู้อาวุโสตามหลักคำสอนของขงจื๊อ
3. ราชวงศ์จิ๋นหรือฉิน
กำเนิดเมื่อ 221-207 ปี ก่อนค.ศ. จีนเริ่มเป็นจักรวรรดิ์ พระเจ้าชิวั่งตี่ หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ยึดหลักการปกครองที่เข้มงวดตามหลักนิติธรรม(ฟาเจีย)ของซุนจื๊อ
ที่เห็นว่ามนุษย์ชั่วร้าย มีกิเลสตัณหา ต้องใช้อำนาจและกฏหมายเป็นเครื่องควบคุม ยกเลิกระบบศักดินา แบ่งเขตการปกครองเป็น 36 มณฑล แต่งตั้งข้าราชการไปปกครอง จัดระเบียบการเขียนหนังสือ ทำลายขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมและคำสอนของขงจื๊อเผาตำราต่างๆ มีการสร้างกำแพงเมืองจีน ค้นพบดินปืนเป็นชาติแรก มีการใช้เหรียญกษาปณ์ คิดค้นมาตราชั่ง ตวง วัด
กำเนิดเมื่อ 221-207 ปี ก่อนค.ศ. จีนเริ่มเป็นจักรวรรดิ์ พระเจ้าชิวั่งตี่ หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ยึดหลักการปกครองที่เข้มงวดตามหลักนิติธรรม(ฟาเจีย)ของซุนจื๊อ
ที่เห็นว่ามนุษย์ชั่วร้าย มีกิเลสตัณหา ต้องใช้อำนาจและกฏหมายเป็นเครื่องควบคุม ยกเลิกระบบศักดินา แบ่งเขตการปกครองเป็น 36 มณฑล แต่งตั้งข้าราชการไปปกครอง จัดระเบียบการเขียนหนังสือ ทำลายขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมและคำสอนของขงจื๊อเผาตำราต่างๆ มีการสร้างกำแพงเมืองจีน ค้นพบดินปืนเป็นชาติแรก มีการใช้เหรียญกษาปณ์ คิดค้นมาตราชั่ง ตวง วัด
4. ราชวงศ์ฮั่น
กำเนิดเมื่อ202 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ.221 มีการฟื้นฟูปรัชญาและวรรณกรรมที่มีการเผาในสมัยราชวงศ์ ฉินหรือ จิ๋น นำหลักการของขงจื๊อมาใช้ในการปกครองประเทศ มีการสอบเข้ารับราชการหรือ ระบบจอหงวน มีการทำกระดาษจากเปลือกไม้ คิดค้นการทำหมึกจากเขม่าต้นรัก ใช้พู่กันเขียนลงบนกระดาษ การคำนวณหาอัตราส่วนเส้นผ่าศูนย์กลางกับเส้นรอบวง ประดิษฐ์ลูกคิด เครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหว ในสมัยนี้มีการใช้เส้นทางแพรไหมหรือเส้นทางสายไหม (Silk Route) ในการติดต่อค้าขายกับทางตะวันตก เป็นยุคทองด้านการค้าของจีน เมื่อสิ้นราชวงศ์ฮั่นเกิดการรบแย่งชิงอำนาจนาน 50 ปี เรียกว่าสมัยสามก๊กจีนแบ่งแยกเป็นแค้วนๆ
กำเนิดเมื่อ202 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ.221 มีการฟื้นฟูปรัชญาและวรรณกรรมที่มีการเผาในสมัยราชวงศ์ ฉินหรือ จิ๋น นำหลักการของขงจื๊อมาใช้ในการปกครองประเทศ มีการสอบเข้ารับราชการหรือ ระบบจอหงวน มีการทำกระดาษจากเปลือกไม้ คิดค้นการทำหมึกจากเขม่าต้นรัก ใช้พู่กันเขียนลงบนกระดาษ การคำนวณหาอัตราส่วนเส้นผ่าศูนย์กลางกับเส้นรอบวง ประดิษฐ์ลูกคิด เครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหว ในสมัยนี้มีการใช้เส้นทางแพรไหมหรือเส้นทางสายไหม (Silk Route) ในการติดต่อค้าขายกับทางตะวันตก เป็นยุคทองด้านการค้าของจีน เมื่อสิ้นราชวงศ์ฮั่นเกิดการรบแย่งชิงอำนาจนาน 50 ปี เรียกว่าสมัยสามก๊กจีนแบ่งแยกเป็นแค้วนๆ
5. ราชวงศ์สุย
-เป็นยุคแตกแยกแบ่งเป็นสามก๊ก
-มีการขุดคลองเชื่อมแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซี เพื่อประโยชน์ในด้านการคมนาคม
-เป็นยุคแตกแยกแบ่งเป็นสามก๊ก
-มีการขุดคลองเชื่อมแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซี เพื่อประโยชน์ในด้านการคมนาคม
6.ราชวงศ์ถัง
ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของอารยธรรมจีน นครฉางอานเป็นศูนย์กลางความเจริญของซีกโลกตะวันออกในสมัยนั้น พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง พระภิกษุ (พระถังซำจั๋งหรือพระเสวียนจาง) เดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎกในชมพูทวีป(อินเดีย) เป็นยุคทองของกวีนิพนธ์จีน กวีคนสำคัญ เช่น หวางเหว่ย หลี่ไป๋ ตู้ฝู้ ศิลปะแขนงต่างๆมีความรุ่งเรือง หรือแม้แต่การสวดมนต์ในพระพุทธศาสนาก็เป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีจีน เช่น ขิมและขลุ่ย และมีการก่อตั้งราชบัณฑิตยสถาน โดย ฮันหลิน หยวน เพื่อเป็นศูนย์รวมเหล่านักปราชญ์ราชบัณฑิต นักดนตรี และจิตรกร
ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของอารยธรรมจีน นครฉางอานเป็นศูนย์กลางความเจริญของซีกโลกตะวันออกในสมัยนั้น พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง พระภิกษุ (พระถังซำจั๋งหรือพระเสวียนจาง) เดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎกในชมพูทวีป(อินเดีย) เป็นยุคทองของกวีนิพนธ์จีน กวีคนสำคัญ เช่น หวางเหว่ย หลี่ไป๋ ตู้ฝู้ ศิลปะแขนงต่างๆมีความรุ่งเรือง หรือแม้แต่การสวดมนต์ในพระพุทธศาสนาก็เป็นต้นกำเนิดของเครื่องดนตรีจีน เช่น ขิมและขลุ่ย และมีการก่อตั้งราชบัณฑิตยสถาน โดย ฮันหลิน หยวน เพื่อเป็นศูนย์รวมเหล่านักปราชญ์ราชบัณฑิต นักดนตรี และจิตรกร
7. ราชวงศ์ซ้อง
มีความก้าวหน้าด้านการเดินเรือสำเภา เนื่องจากการค้ามีความรุ่งเรืองแต่ราชสำนักไม่แข็งแรง มีการใช้เข็มทิศ ลูกคิด ประดิษฐ์แท่นพิมพ์หนังสือ และรักษาโรคด้วยการฝังเข็ม มีการฟื้นฟูลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า เกิดประเพณีรัดเท้าสตรี และต่อมาถูกเผ่ามองโกลรุกราน
มีความก้าวหน้าด้านการเดินเรือสำเภา เนื่องจากการค้ามีความรุ่งเรืองแต่ราชสำนักไม่แข็งแรง มีการใช้เข็มทิศ ลูกคิด ประดิษฐ์แท่นพิมพ์หนังสือ และรักษาโรคด้วยการฝังเข็ม มีการฟื้นฟูลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า เกิดประเพณีรัดเท้าสตรี และต่อมาถูกเผ่ามองโกลรุกราน
8. ราชวงศ์หยวน
-เป็นราชวงศ์ชาวมองโกลที่เข้ามาปกครองจีน ฮ่องเต้องค์แรกคือ กุบไลข่าน หรือ หงวนสีโจ๊วฮ่องเต้
-ชาวตะวันตกเข้ามาติดต่อค้าขายมาก เช่น มาร์โคโปโล พ่อค้าชาวเมืองเวนีส ประเทศอิตาลี
-เป็นราชวงศ์ชาวมองโกลที่เข้ามาปกครองจีน ฮ่องเต้องค์แรกคือ กุบไลข่าน หรือ หงวนสีโจ๊วฮ่องเต้
-ชาวตะวันตกเข้ามาติดต่อค้าขายมาก เช่น มาร์โคโปโล พ่อค้าชาวเมืองเวนีส ประเทศอิตาลี
9. ราชวงศ์หมิงหรือเหม็ง
-ด้านวรรณกรรม นิยมการเขียนนวนิยายที่ใช้ภาษาพูดมากกว่าการใช้ภาษาเขียน มีนวนิยายที่สำคัญ ได้แก่ สาม ก๊ก ไซอิ๋ว
-ส่งเสริมการสำรวจเส้นทางเดินเรือทางทะเล
-สร้างพระราชวังหลวงปักกิ่ง (วังต้องห้าม)
-ด้านวรรณกรรม นิยมการเขียนนวนิยายที่ใช้ภาษาพูดมากกว่าการใช้ภาษาเขียน มีนวนิยายที่สำคัญ ได้แก่ สาม ก๊ก ไซอิ๋ว
-ส่งเสริมการสำรวจเส้นทางเดินเรือทางทะเล
-สร้างพระราชวังหลวงปักกิ่ง (วังต้องห้าม)
10. ราชวงศ์ชิงหรือเช็งหรือแมนจู
-เป็นราชวงศ์เผ่าแมนจู เป็นยุคที่จีนเสื่อมถอยความเจริญทุกด้าน
-เริ่มถูกรุกรานจากชาติตะวันตก เช่น สงครามฝิ่น ซึ่งจีนรบแพ้อังกฤษ ทำให้ต้องลงนามในสนธิสัญญานานกิง
-ปลายยุคราชวงศ์ชิง พระนางซูสีไทเฮาเข้ามามีอิทธิพลในการบริหารประเทศมาก
-เป็นราชวงศ์เผ่าแมนจู เป็นยุคที่จีนเสื่อมถอยความเจริญทุกด้าน
-เริ่มถูกรุกรานจากชาติตะวันตก เช่น สงครามฝิ่น ซึ่งจีนรบแพ้อังกฤษ ทำให้ต้องลงนามในสนธิสัญญานานกิง
-ปลายยุคราชวงศ์ชิง พระนางซูสีไทเฮาเข้ามามีอิทธิพลในการบริหารประเทศมาก
จีนยุคสาธารณรัฐและยุคคอมมิวนิสต์
ปลายยุคราชวงศ์ชิง ดร.ซุนยัตเซ็น จัดตั้งสมาคมสันนิบาต เพื่อล้มล้างราชวงศ์ชิง โดยประกาศ ลัทธิไตรราษฎร์ ประกอบด้วย
1.หลักเอกราช
2.หลักแห่งอำนาจอธิปไตยของประชาชน
3.หลักความยุติธรรมในการครองชีพ ส่วนนโยบายปฏิวัติ คือ โค่นล้มราชวงศ์แมนจู และจัดตั้งรัฐบาลประชาชน จัดตั้งรัฐบาลตามระบอบสาธารณรัฐ จัดสรรที่ดินให้แก่ประชาชน และก่อตั้งพรรคชาตินิยม หรือพรรคก๊กมินตั๋งขึ้นในที่สุด
1.หลักเอกราช
2.หลักแห่งอำนาจอธิปไตยของประชาชน
3.หลักความยุติธรรมในการครองชีพ ส่วนนโยบายปฏิวัติ คือ โค่นล้มราชวงศ์แมนจู และจัดตั้งรัฐบาลประชาชน จัดตั้งรัฐบาลตามระบอบสาธารณรัฐ จัดสรรที่ดินให้แก่ประชาชน และก่อตั้งพรรคชาตินิยม หรือพรรคก๊กมินตั๋งขึ้นในที่สุด
ต่อมา ซุนยัตเซ็นได้ร่วมมือกับ ยวน ซีไข ทำการปฏิวัติล้มราชวงศ์ชิงได้สำเร็จ เปลี่ยนการปกครองเข้าสู่ระบอบสาธารณรัฐ (จักรพรรดิปูยี เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของจีน) มีการแย่งชิงอำนาจของผู้นำทางทหารเรียกว่า ยุคขุนศึก ซุนยัตเซ็นได้เสนอให้ ยวน ซีไข เป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐจีน ยวน ซีไข คิดสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิและรื้อฟื้นระบบศักดินา ดร.ซุนยัตเซ็นได้ตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง เมื่อ ยวน ซีไข เสียชีวิตลง ดร.ซุนยัตเซ็นเป็นประธานาธิบดี แต่เป็นได้ไม่นานก็เสียชีวิต
หลัง จาก ดร. ซุนยัตเซ็น เสียชีวิต เจียงไคเช็ค ขึ้นเป็นผู้นำพรรคก๊กมินตั๋งและผู้นำจีนแต่รัฐบาลเจียงไคเช็ค ประสบปัญหาฉ้อราษฎร์บังหลวง กดขี่ราษฎรจีนจนเกิดการปฏิวัติอีกครั้ง โดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน ภายใต้การนำของ เหมา เจ๋อตุง รัฐบาลเจียงไคเช็ค ต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แต่แพ้ เหมา เจ๋อตุงสถาปนา “สาธารณรัฐประชาชนจีน” ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ มีการจัดระเบียบสังคมใหม่ เรียกว่า การปฏิวัติทางวัฒนธรรม เพื่อต่อต้านจารีตศักดินาแบ่งชนชั้น หลังจาก เหมา เจ๋อตุง เสียชีวิต เติ้งเสี่ยวผิงขึ้นเป็นผู้นำจีนแทน และประกาศพัฒนาประเทศด้วย นโยบายสี่ทันสมัย คือด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การทหาร และด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยอนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนภายในประเทศ รวมทั้งผ่อนปรนวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนให้คลายความเข้มงวดลง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น